ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3



อังเดร มารี แอมแปร์ : Andre Marie Ampere

เกิด วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เมืองโปลีมีเยอร์ (Polemieux) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลล์ (Marseilles) ประเทศฝรั่งเศ(France)
ผลงาน   - ค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กโลก
             - ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor)
             - ค้นพบสมบัติของไฟฟ้าและแม่เหล็ก
         ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะฉะบั้นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด และนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าก็คือ อังเดร มารี แอมแปร์ และถ้ากล่าวถึงแอมแปร์แล้วทุกคนต้องนึกถึงหน่วยวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำ ซึ่งชื่อนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้นี้ที่ค้นพความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดย
1 แอมแปร์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่สามารถแยกเงินบริสุทธิ์ออกจากสารละลายเกลือเงินไนเตรท 0.1 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้น้ำหนัก 0.001118 กรัม ในเวลา 1 นาที  แอมแปร์เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1775 ที่เมืองโปลีมีเยอร์ ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควรซึ่งเป็นโอกาสที่ดีทำให้แอมแปร์ได้รับการศึกษาที่ดีแอมแปร์มีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างมาก โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ เขามีความสนใจมากเป็นพิเศษจนมีความชำนาญในวิชา Differential Calculus ในขณะที่เขามีอายุเพียง 12 ปี เท่านั้นและในปี ค.ศ.
1793 เขาได้รับการยกย่องในฐานะนักคณิตศาสตร์ผู้มีความสามารถคนหนึ่งของฝรั่งเศสเลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 1974 เกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ฝ่ายปฏิวัติต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ แลสามารถทำการได้สำเร็จ ฝ่ายปฏิวัติมีคำสั่งให้สังหารคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นฝ่ายกษัตริย์เป็นจำนวนมาก รวมถึงพ่อของแอมแปร์ด้วย หลังจากที่พ่อของเขาถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีน(Guillotine) ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมากและต้องลาออกจากโรงเรียน แอมแปร์ได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ต่อจากนั้นได้เข้าทำงานเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชั้นมัธยม ที่เมืองลีอองส์ (Lyons) หลังจากนั้นอีก 2 ปีเขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์สอนวิชา Analytical Calculus และกลศาสตร์ที่โรงเรียนโปลีเทคนิคแห่งฝรั่งเศส (Polytechnic School of France)
          ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้เขาได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า และได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์และกลศาสตร์ในปี ค.ศ. 1809 และในปีเดียวกันนั้นแอมแปร์ได้เผยแพร่ผลงานของเขาออกมาหลายชิ้น ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์ เคมีและชีววิทยา จากผลงานดังกล่าว เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ (Institute of Art and Science) และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1804 เขาได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองบัวส์ (University of Boise) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และเคมี แต่โชคร้ายที่ภรรยาของเขาเสียชีวิตทำให้แอมแปร์เสียใจมาก จึงตอบปฏิเสธทางมหาวิทยาลัยบัวส์ไป หลังจากต้องเสียภรรยาไปแล้วแอมแปร์ได้ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการทดลอง ค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1820 มีนักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก ฮานน์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans Christian Oersted) ได้เผยแพร่ผลงานการค้นพความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและแม่เหล็ก เออร์สเตดเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University) การค้นพบของเขาเกิดขึ้นจากความบังเอิญ ในขณะที่เขาทำการบรรยายวิชาฟิสิกส์ในหัวข้อเรื่อง สมบัติของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย คือ แบตเตอรี่ สายไฟ และเข็มททิศเมื่อเออร์สเตดได้วางสายไฟซึ่งมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ลงใกล้กับเข็มทิศ ปรากฏว่าเข็มกระดิก สร้างความแปลกใจให้กับเออร์สเตดมาก เขาจึงทำการทดลองซ้ำอีกครั้งโดยการวางสายไฟให้เข้าใกล้เข็มทิศมากขึ้น ปรากฏว่าเข็มกระดิกมากขึ้น จากการค้นพบครั้งนี้นำไปสู่ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็ก กับไฟฟ้า หรือ ทฤษฎีอิเล็กโทรแมกเนติซัม (Electro Magnetism Theory)
    หลังจากแอมแปร์ได้ทราบข่าวการค้นพบครั้งนี้ เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าโดยครั้งแรกเขาได้ทำการทดลองตามแบบเออร์สเตด หลังจากนั้นเขาได้สรุปสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า "เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจะทำให้รอบ ๆลวดตัวนำเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น" จากการทดลองครั้งนี้แอมแปร์สามารถสรุปได้ว่า ในแม่เหล็กอาจมีไฟฟ้าซ่อนอยู่หลังจากนั้นแอมแปร์ได้ทำการทดลองโดยการต่อเส้นลวด 2 เส้น เข้ากับแบตเตอรี่และวางในแนวคู่ขนานกัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้าว่า "อำนาจที่ได้จากแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้าวงจรปิดแบบเดียวกัน ปรากฏว่าถ้าปล่อยกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางเดียวกัน ลวดทั้ง 2 เส้นจะผลักกัน แต่ถ้าปล่อยกระแสไฟฟ้าในทิศทางตรงข้ามกันลวดทั้ง 2 เส้นจะดึงดูดกัน ส่วนในแท่งแม่เหล็กนั้น ถ้าหันขั้วเดียวกันเข้าหากันก็จะผลักกัน แต่ถ้าหันคนละขั้วจะดึงดูดกัน"ต่อมาแอมแปร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเดินทางของกระแสไฟฟ้าบนลวดตัวนำต่อไปโดยการนำคอยล์ (Coil) หรือขดลวด มาพันซ้อนกันหลาย ๆ รอบจนกลายเป็นรูปทรงกระบอกหรือที่เรียกว่า "โซเลนอยด์ (Solenoid)" จากนั้นจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไป ปรากฏว่าเกิดสนามแม่เหล็กภายในโซเลนอยด์ และจากการทดลองครั้งนี้ได้นำไปสู่การค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานแล้ว ว่าเหตุใดบริเวณขั้นโลกเหนือและใต้จึงมีอำนาจแม่เหล็กอยู่แอมแปร์ทำการทดลองเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในทฤษฎีอันนี้ โดยการสร้างวงขดลวดไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งใช้ลวดลายมาพันเป็นขดแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดทีละน้อย ผลปรากฏว่าเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะมีอำนาจเหมือนแท่งแม่เหล็ก นอกจากนี้เขายังพบว่ายิ่งพันขดลวดมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากขึ้น จากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า การเกิดแม่เหล็กโลกเกิดจากโลกมีประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก และผลงานชิ้นนี้ได้นำไปสู่การสร้างสนามแม่เหล็ก และมอเตอร์ไฟฟ้า แอมแปร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์แชลล์ ประเทศฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

1.ศึกษาทฤษฎีและหลักการ(เจ้าของทฤษฎี)
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา     ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี

การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
          1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
                      1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                      2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                      3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น

        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
2.  นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
     สามารถนำไปใช้ในด้านการเข้าใจคน  เข้าใจการพัฒนาของมนุษย์  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม  การมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ  การพัฒนาการคิดให้มีระบบโดยที่สามารถใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
 ที่มา  http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6

กิจกรรมที่1

การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

แนะนำตัวเอง

ชื่อ นางสาวสุดารัตน์  หวังแฉะ
วันเกิด 13 ตุลาคม 2532
ที่อยู่ 78 ม.10 ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา  90260
การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านควนหรัน
                 มัธยมศึกษา โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน
                 ปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
                หลักสูตรสังคมศึกษา  คณะครุศาสตร์
งานอดิเรก  ฟังเพลง คุยโทรศัพท์
คติประจำใจ  ทำวันนี้ให้ดีกว่าพรุ่งนี้