ยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่5

ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
ดร.บรรเจอดพร  รัตนพันธุ์
คณะทำงานรมช.ศธ.
            จะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่าต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ
         มีใครเคยสงสัยไหมว่าต้นแบบคืออะไรทำไมต้องมีครูต้นแบบเกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ?แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5%ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชูเผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบจะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับต้นแบบ
            เป็นโอกาสดีของผู้เขียนได้ไปร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า กับรองศาสตราจารย์ บุญนำทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 101 ปี ณ อาคาร 3 คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 มีวิทยากรที่ทรงคุณงามความดีความรู้ ภูมิปัญญาชั้นนำของประเทศหลายท่าน และมีท่านหนึ่งได้พูดเรื่องต้นแบบว่าพระมหากษัตริย์ของเรามีต้นแบบที่ทรงคุณมหาศาลที่หล่อหลอมพระองค์ท่านให้เป็นกษัตริย์ที่สถิตย์ในดวงใจของปวงชนชาวไทยนั่นคือ  “สมเด็จย่าแม้ว่าสมเด็จย่าจะจากพวกเราไป แต่พระองค์ฝากสิ่งที่สำคัญยิ่งไว้ให้ชาวโลกแล้ววิทยากรที่กล่าวถึงคือพระเทพโสภณ (ประยูรธมมจิตโต)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
            พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
            นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่างศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
                      นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงามต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆเพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จักแม้เพียงแค่มองผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมายแค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
            พระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่าการศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็นหากครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
            จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดูได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนเลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุขต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชนแก่ประเทศชาติจากที่ไหน
            จริงอยู่ดังที่ขงจื้อกล่าวไว้ คนดีคนเลว เป็นครูได้ทั้งหมด เพราะเมื่อเห็นคนดี ก็เลียนแบบ เห็นคนเลวก็เลียนแบบแต่อยากถามว่าผู้ที่จะแยกแยะดี / เลว ได้ชัดเจนต้องมีวุฒิภาวะเพียงใดเยาวชนของเราบางคนยังมีวุฒิภาวะไม่ถึงพร้อม โดยเฉพาะถ้าเห็นตัวแบบนั้นเป็นครูเป็นพ่อ แม่ เขายิ่งอาจสับสนว่าเขาควรเลียนแบบอย่างที่เห็น ใช่หรือไม่
            พวกเราชาวครูทั้งหลาย คงทราบแล้วว่าครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมาทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครู และสังคมเพียงใด
            ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบอีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการแต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบพวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะ ไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหนท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอ ทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัวท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก
            สำหรับบางท่าน.......แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบแม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว......ท่าน ไม่ได้รับเลือก  แต่ท่านอาจเป็นแรงบันดาลใจ
             เป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และ
            ท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่านว่า คุณครู
แหล่งที่มา :   ดร.บรรเจอดพร รัตนพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น